วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

แค่เปลี่ยนมุ้งลวด ง่ายๆ ทำเองก็ได้

     วันนี้เราจะมาเปลี่ยนมุ้งลวดกันใหม่ ด้วยตัวเอง ไม่ยากอย่างที่คิดเลย เรามาดูอุปกรณ์กันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง




      1.ที่ขาดไม่ได้เลย ก็มีมุ้งลวดอันเก่า จะประตูหรือหน้าต่างก็ทำเหมือนกัน ต่างกันที่ขนาด 



     2.มุ้งลวดอันใหม่ หาซื้อได้ตามร้านที่รับทำเลย หรือที่ ห้างที่ขายวัสดุก่อสร้างเฉพาะก็ได้ ส่วนราคาก็แล้วแต่พื้นที่ ส่วนวัสดุที่ใช้ทำเนื้อมุ้งลวด มี 3 ชนิด คือ

 1. มุ้งลวดอะลูมิเนียม

          มุ้งลวดชนิดนี้ เป็นมุ้งลวดที่ทอขึ้นจากอะลูมิเนียมจึงมีความแข็งแรงทนทาน เมื่อผืนมุ้งออกมาจากเครื่องจักร จะมีคราบน้ำมันติดอยู่ต้องนำไปฟอกทำความสะอาด เมื่อทำความสะอาดแล้ว เส้นอะลูมิเนียมจะมีความคมและความมันวาวสะท้อนแสงได้มาก มีความดึงตัวสูง โปร่งแสง และอากาศถ่ายเทได้ดี จึงเหมาะกับบ้านพักอาศัยที่อยู่ในตัวเมือง แต่ข้อเสียคือผืนมุ้งลวดไม่ได้ผ่านกรรมวิธีเพื่อป้องกันการเกิดสนิมโลหะ จึงทำให้เกิดการผุกร่อนได้ง่ายเมื่อถูกความชื้น และการยึดเกาะกันระหว่างเส้นลวดในแนวตั้ง และแนวนอนมีน้อย จึงทำให้ตาตารางของเส้นลวดนั้นโย้ไปมาได้ง่าย ๆ ดังนั้นการนำมาขึงขึ้นกรอบบานจึงต้องใช้ความประณีตอย่างมาก เพื่อให้ตารางของมุ้งลวดเป็นระเบียบไม่โย้ไปมา และถ้าไม่หมั่นล้างทำความสะอาดก็จะกรอบแข็งและหมดอายุการใช้งานเร็ว

 2. มุ้งลวดไฟเบอร์

          มุ้งลวดไฟเบอร์ สามารถลดปัญหาการสะท้อนแสงได้ดีกว่ามุ้งลวดอะลูมิเนียม และการเกิดสนิมที่ทำให้มุ้งลวดผุกร่อนได้ ข้อดีคือมีความหยุ่นนุ่ม ไม่มีความคมที่จะมาระคายผิวเมื่อสัมผัส เหมือนมุ้งที่ทอจากเส้นลวด และจะมีขนาดหน้ากว้างเยอะทำให้ไม่มีปัญหาในการนำมาใช้งานกับบานหน้าต่าง หรือประตูที่มีความกว้างมาก ๆ ข้อเสียคือ เมื่อใช้ไปนาน ๆ จะฉีกขาดได้ง่ายกว่ามุ้งลวดอะลูมิเนียม ทั้งนี้มุ้งลวดไฟเบอร์เหมาะกับบ้านพักอาศัยที่อยู่ใกล้ชายทะเล เพราะมีความทนต่อการกัดกร่อนของละอองน้ำทะเล หรือไอเค็มจากทะเลได้ดี 

 3. มุ้งลวดไนลอน

          มุ้งลวดไนลอน มีความดึงตัวสูง เหนียว ทน แต่อากาศถ่ายเทได้ไม่ค่อยดี เส้นลวดหนา ไม่โปร่งสบายตา ทำให้เสียทัศนียภาพที่มองเห็น ฉะนั้นจึงไม่เหมาะแก่การนำมาติดตั้งที่หน้าต่าง
     
     3.ลูกกลิ้ง อันนี้ซื้อมาจาก โฮมโปร อันละ 100 ร้อยกว่าบาท

     4.ยางอัดขอบ กรรไกร ฆ้อนยาง

มาดูวิธีทำกันเลย 👉👉👉

     ขั้นแรก รื้อของเก่าก่อนค่ะ เลาะยางอันขอบออก แล้วก็เอามุ้งลวดอันเก่าออก ให้เหลือโครงเปล่าๆ ทำความสะอาด เช็ดๆ ถูๆ เลยค่ะ




     ขั้นที่ 2 นำมุ้งลวดใหม่มาวัดขนาดเลยค่ะ ง่ายๆ ทาบกับโครงเลย เมื่อได้ขนาดแล้ว เราจะตัดเลยก็ได้ แต่ต้องเหลือขอบไว้ด้วยนะค่ะ เผื่อประกอบอัดยางแล้วจะพอดี แต่ที่ทำ จะตัดทีหลังประกอบก่อน เพราะจะจับง่าย



     ขั้นที่ 3 เอามุ้งลวดทาบกับโครง แล้วเอาลูกกลิ้ง กลิ้งให้เป็นร่องตามขอบประตู เพื่อที่เราจะอัดยางลงไป ไม่ให้มุ้งลวดหลุด



     ขั้นที่ 4 เอายางอัดไปตามร่อง แล้วใช้ฆ้อนยางทุบเบาๆ เพื่อให้ยางเข้าไปในร่อง




     ขั้นตอนสุดท้าย ถ้าใครยังไม่ได้ตัด ก็ตัดได้เลยค่ะ ให้พอดีกับขอบ เก็บความเรียบร้อย เสร็จแล้วค่ะ ประกอบเข้าที่เลย ง่ายใช่มั้ยค่ะ ไม่ต้องเป็นช่างก็ทำเองได้  




     ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์กับหลายๆ คน ไม่มากก็น้อย เขียนมาจากประสบการณ์ที่ตัวเองทำ ไ
ม่มีความรู้ทางด้านช่างเลย หาความรู้ทางอินเตอร์เน็ต แล้วลองผิดลองถูกเอง หากผิดพลาดตรงไหน ก็ให้คำแนะนำได้นะคะ 😅😅
   

     

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ป้องกันปลั๊ก ไม่ให้น้ำท่วม

มาป้องกันปลั๊กไฟไม่ให้น้ำท่วมกัน

     เป็นธรรมดาน้ำกับไฟย่อมไม่ถูกกัน เจอกันเมื่อไร ได้เรื่องเมื่อนั้น ในช่วงหน้าฝนต้องมีหลายพื้นที่โดนน้ำท่วม แต่ทุกบ้านต้องป้องกันโดยการยกของขึ้นที่สูง เก็บปลั็กไฟให้พ้นน้ำ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะหลายบ้าน ทำปลั๊กไว้แบบเคลื่อนย้ายไม่ได้ เราก็มาป้องกันไม่ไห้น้ำเข้าปลั๊กไฟกันดีกว่า 
   
อุปกรณ์
     1. ชามพลาสติก หรือ ชามซุปเปอร์แวร์ เพราะมีน้ำหนักเบา  ส่วนขนาดก็ให้ใหญ่กว่าปลั๊กไฟ แต่อย่าใหญ่มาก

     2. ซีลิโคนยาแนว พร้อมปืนยิง จะใช้สีขาว หรือสีใสก้ได้





 วิธีทำ ก็ง่ายๆไม่ซับซ้อน

     1. นำชามที่เตรียมไว้ไปวางครอบปลั๊กไฟเพื่อวัดขนาด  แล้วทำการขีดเบาๆ รอบชามเพื่อเป็นแนว และนำชามออก
     2. นำซีลีโคนมายิงให้รอบแนววงกลมที่เราวาดไว้
     3. นำชามมาครอบทับบนซีลิโคนที่เรายิงไว้ แล้วกดให้แน่น
เพื่อป้องกันหลุด
     4. เอามือออก เมื่อเห็นว่าชามไม่หลุดแล้ว  จากนั้นก็ใช้ซีลีโคนยิงให้รอบขอบจาน แล้วใช้มือปาดให้ซิลิโคนรอบๆให้แน่นและอย่าลืมดูรอบๆ ว่าถั่วหรือเปล่า มีร่องตรงไหนให้อุดด้วย
     5. ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 12 ชม. เพื่อให้สนิท ห้ามโดนหรือขยับโดยเด็ดขาด


หลังจากน้ำแห้งแล้วเราเพียงแต่ใช้ปลายมีดแกะออกเบาๆ และทิ้งไว้สักพักก่อนการใชปลั๊ก
เพราะจะมีความชื้น ต้องรอให้หาย ก็ใช้ได้ตามปกติค่ะ


     เมื่อเราเห็นข้อดีของการป้องกันวิธีนี้แล้ว    แต่ไม่ใช่ว่า     
ไม่มีข้อเสียนะคะ 

     ข้อเสีย คือ เวลาแกะออกแล้วจะทำให้สีบริเวณที่ยิงซีลีโคน หลุดเป็นรอยด่าง
     แต่ถ้ามองกันในแง่ความเสียหาย ถ้าน้ำเข้าไปในปลั๊กได้
น่าจะลำบากมากว่านี้ 
     ยังไงก็ลองชั่งใจดูนะคะว่าอะไรเสียหายกว่ากัน



     จากข้อความข้างต้นนี้ อาจจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน ไม่มากก็น้อย รับประกันผลได้ 100%  เพราะคนเขียนเองได้ทำมาแล้ว และเขียนจากประสบการณ์จริงคะ ก็ตอนน้ำท่วมใหญ่
ปลายปี 54 คะ